Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน นิยาย บท 291

สรุปบท ตอนที่ 291 บะหมี่หยางชุนหนึ่งชาม: Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน

ตอนที่ 291 บะหมี่หยางชุนหนึ่งชาม – ตอนที่ต้องอ่านของ Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน

ตอนนี้ของ Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน โดย Internet ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของนิยายการเงินทั้งเรื่อง ด้วยบทสนทนาทรงพลัง ความสัมพันธ์ของตัวละครที่พัฒนา และเหตุการณ์ที่เปลี่ยนโทนเรื่องอย่างสิ้นเชิง ตอนที่ 291 บะหมี่หยางชุนหนึ่งชาม จะทำให้คุณอยากอ่านต่อทันที

ตอนที่ 291 บะหมี่หยางชุนหนึ่งชาม

ในเมื่อสนใจขึ้นมาแล้ว ก็ย่อมต้องสำรวจตลาด

หลินเยวียนใช้เวลาหลายวันเพื่อทำความเข้าใจกับตลาดนิยายสืบสวนสอบสวน

เช่นเดียวกับที่หลินเยวียนจินตนาการไว้…

บนบลูสตาร์ นิยายแนวไขปริศนานั้นมีมากที่สุด เป็นแนวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และยังเป็นแนวสืบสวนสอบสวนรูปแบบเริ่มแรกที่สุดอีกด้วย

ดังนั้นนิยายสืบสวนสอบสวนจึงเป็นประเภทดั้งเดิมซึ่งได้รับการยอมรับ

เรื่องราวเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้การไขปริศนาบนพื้นฐานของตรรกะเป็นหลัก ด้วยโครงเรื่องชวนตื่นเต้นและปมปริศนาอันน่าสนใจชวนให้ขบคิดตาม เมื่อนำมาตีแผ่ผ่านตรรกะและเหตุผล ก็มักจะมีคดีฆาตกรรมหลากหลายประเภท เช่น คดีฆาตกรรมในห้องปิดตาย หรือคดีฆาตกรรมบนเกาะร้าง…

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้อ่านบนบลูสตาร์ชื่นชอบการสืบสวนสอบสวนบริสุทธิ์

ในเมื่อเป็นการสืบสวนสอบสวนบริสุทธิ์ แน่นอนว่าพวกเขาย่อมเลือกอ่านแนวไขปริศนาแบบดั้งเดิม

บนบลูสตาร์เองก็มีคำว่าแนวไขปริศนา แต่หลายคนนิยมเรียกนิยายประเภทนี้ว่า ‘สืบสวนสอบสวนแบบดั้งเดิม’ มากกว่า

ถึงอย่างไรนี่ก็เป็นหมวดหมู่ที่ผู้คนคุ้นเคยมากที่สุด

นักเขียนชื่อดังของโลกอย่างอกาธา คริสตี[1] หรืออาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์[2] ล้วนเป็นอริยบุคคลของงานวรรณกรรมประเภทนี้

นิยายสืบสวนสอบสวนบริสุทธิ์นั้นตอบสนองผู้อ่านซึ่งชื่นชอบการคลายปมปริศนา โดยทั่วไปแล้วจะพยายามจัดวางนักอ่านให้อยู่บนระนาบเดียวกับนักสืบมากที่สุด มีจำนวนเงื่อนงำที่ใกล้เคียงกัน นิยายสืบสวนสอบสวนบริสุทธิ์บางเล่มอาจเขียนโปรโมตไว้ว่า ‘ท้าทายผู้อ่าน’

ตัวอย่างเช่น ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการนวนิยายอาชญากรรมอย่างแอลเลอรี ควีน[3] ก็ชอบทำเช่นนี้

นิยายประเภทนี้มักจะบอกผู้อ่านอย่างชัดเจนว่า ‘จนถึงตอนนี้ คุณมีเงื่อนงำมากพอที่จะไขปริศนาได้‘

นี่เป็นเรื่องที่ท้าทายผู้อ่านเช่นเดียวกับนักสืบ ว่าจะคลี่คลายปริศนาได้หรือไม่

เพราะฉะนั้น การมุ่งเน้นที่ความยุติธรรมและตรรกะเชิงเหตุผล เป็นคุณสมบัติของนิยายแนวสืบสวน

ขณะที่กำลังอ่าน ผู้อ่านก็สามารถสนุกไปกับการไขปริศนาได้

นิยายประเภทนี้เป็นจุดกำเนิดของนิยายสืบสวน หากไปใส่ไว้ในนิยายแนวแฟนตาซี คงเรียกได้ว่าเป็นปฐมาจารย์ผู้ให้กำเนิดสำนักก็คงได้

เปิดหมวดหมู่ซึ่งได้รับความนิยมสูง กรุยทางแก่วรรณกรรมสืบสวนสอบสวน!

เมื่อพอจะเข้าใจตลาด และพอจะรู้ทิศทางของตนขึ้นมาบ้าง หลินเยวียนก็สามารถสั่งผลิตนิยายได้แล้ว

ครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องประหยัดเงิน

เพราะในระยะนี้ ยอดบ็อกซ์ออฟฟิศของเรื่องนักปรับเสียงเปียโนนั้นทำรายได้ถล่มทลาย!

นั่นมากพอจะทำให้หลินเยวียนลำพองใจขึ้นมา

ลำพองใจถึงขั้นที่หลินเยวียนขานชื่อกับระบบไปโดยตรง “ฉันอยากสั่งผลิตนิยายสืบสวนของของอกาธา คริสตี”

ใช่ ชื่อนี้ทุกคนล้วนคุ้นเคยดี

อกาธา คริสตี หรือที่แฟนนิยายสืบสวนเรียกกันติดปากว่า ‘คุณย่า’

นักเขียนนิยายนักสืบ นักเขียนบท หนึ่งในสามปรมาจารย์นวนิยายสืบสวน!

ในโลกตะวันตก นักเขียนซึ่งมีชื่อเสียงในวงการนิยายสืบสวนเช่นเดียวกับคุณย่าก็คืออาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ซึ่งเป็นผู้เขียนนิยายรหัสคดีชุด ‘เชอร์ล็อก โฮล์มส์’

คนที่สาม ก็คือมัตสึโมโตะ เซย์โช[4] จุดนี้ไม่จำเป็นต้องอธิบายมาก

สรุปแล้วหลินเยวียนกำลังมุ่งเป้าไปที่ปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามท่าน นอกจากนั้นหลังจากพิจารณาโดยรวมแล้วจึงตัดสินใจเลือกคุณย่า

ระบบไม่ได้ปฏิเสธคำเรียกร้อง “จะเลือกผลิตผลงานตามความต้องการหรือไม่”

“เงื่อนไขล่ะ?”

“ต้องเพิ่มเงิน”

หลินเยวียนรู้สึกว่าตัวอักษรของระบบนำพาเอฟเฟ็กต์เสียงมาด้วย

“ฉันเลือกแบบสุ่ม”

แน่นอนว่าหลินเยวียนอยากสั่งทำผลงานที่มีสไตล์กลมกล่อมที่สุด และมีอิทธิพลมากที่สุดอย่างเรื่อง ‘จนศพสุดท้าย’

แต่ราคาของนิยายชิ้นโบว์แดงของคุณย่าจะต้องน่าสะพรึงกลัวอย่างแน่นอน

ยิ่งสั่งผลิตแบบจำเพาะเจาะจงก็ยิ่งแพงหูฉีก

แบบสุ่มราคาถูกกว่า

นอกจากนั้นต่อให้เป็นแบบสุ่ม ก็ไม่ใช่การหลับหูหลับตาสุ่ม หากแต่เป็นการสุ่มที่มีทิศทางแม่นยำ เพราะถึงอย่างไรหลินเยวียนก็กำหนดตัวนักเขียนไว้เรียบร้อยแล้ว

นั่นก็คือคุณย่า!

ผลงานส่วนมากของคุณย่าคุณภาพไม่เลวเลย เพราะฉะนั้นหลินเยวียนจึงไม่ได้กังวลว่าดวงจะตก

“ติ๊งต่อง ยินดีด้วยโฮสต์ได้รับผลงานเรื่อง ‘ฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์’ สั่งผลิตในราคาแปดล้านหยวน ต้องการผลิตหรือไม่”

“สั่งผลิต”

หลินเยวียนแววตาเป็นประกาย ทันใดนั้นก็ส่ายศีรษะด้วยสีหน้าพิลึกกึกกือ

กว่าจะนึกอยากลองหมวดหมู่นิยายตลาดกลุ่มใหญ่ได้ก็แทบแย่ แถมยังเดินเส้นทางนิยายสืบสวนดั้งเดิมอีก นึกไม่ถึงว่าระบบจะเลือกผลงานเรื่องที่ค่อนข้างพิเศษของคุณย่ามาให้เขา

ทว่าคุณภาพของผลงานชิ้นนี้ไม่เลวเลย

เพราะฉะนั้นหลินเยวียนจึงยอมรับราคาได้

ใช่แล้ว ในบรรดาผลงานทั้งหมดของคุณย่า ฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์อาจไม่ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นชิ้นที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นผลงานที่ควรค่าแก่การเอ่ยถึง!

เห็นได้ชัดว่าเซินเจียรุ่ยซึ่งในปัจจุบันนี้อยู่ในอันดับที่ยี่สิบกว่าก็คิดเห็นเช่นเดียวกัน

ในยามนี้ ทางปู้ลั่วได้เผยแพร่ผลงานใหม่ทั้งหมดในเดือนมีนาคมเป็นที่เรียบร้อย

เซินเจียรุ่ยคลิกเปิดผลงานซึ่งมีชื่อว่า ‘บะหมี่หยางชุนหนึ่งชาม’ โดยปราศจากความลังเล

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นในร้านบะหมี่

ช่างตรงกับชื่อเรื่องเหลือเกิน

นี่เป็นช่วงคืนส่งท้ายปี

สไตล์การเขียนค่อนไปทางบทบรรยายเสียมากกว่า [ยามที่ลูกค้าคนสุดท้ายเดินออกจากร้านไป และเจ้าของร้านก็ปิดประตูลง ประตูร้านก็พลันเปิดออกดังเอี๊ยดอ๊าด ผู้หญิงคนหนึ่งเดินเข้ามาพร้อมกับเด็กสองคน เด็กชายสองคนอายุประมาณหกขวบและสิบขวบอยู่ในชุดกีฬาใหม่เอี่ยม ผู้หญิงคนนั้นกลับสวมเสื้อคลุมกันหนาวตัวสั้นลายตารางซึ่งไม่ได้เข้ากับยุคสมัยเอาเสียเลย]

เซินเจียรุ่ยเลิกคิ้ว

เรื่องสั้นส่วนมากของฉู่ขวงจะมีสไตล์การเขียนเฉพาะตัว

ยกตัวอย่างเช่นเรื่องสร้อยคอ ระหว่างบรรทัดระคนไปด้วยสำนวนอันแปลกประหลาด นั่นก็เป็นสไตล์ของงานแปลอย่างหนึ่ง

ทว่าในครั้งนี้ สไตล์สำนวนภาษาของฉู่ขวงกลับใกล้เคียงกับเรื่องสั้นในระยะแรกของเขาอย่างเรื่อง ‘โฉมงามประดิษฐ์’

อ่านแล้วไหลรื่น สำนวนภาษาก็ปกติ เป็นวิธีการเขียนที่พบเห็นได้มากที่สุด

ครั้งนี้จะมีจุดหักเหที่ชวนตกตะลึงอีกหรือไม่

สิ่งที่ฉู่ชวงเชี่ยวชาญมากที่สุด ก็คือตอนจบของเรื่องสั้น ซึ่งมีการหักมุมที่สมเหตุสมผล แต่เหนือความคาดหมายซึ่งทำให้ผู้อ่านต้องตกตะลึง!

เซินเจียรุ่ยถูกฉู่ขวงทำให้อ้าปากค้างมาหลายรอบแล้ว

ถ้าหากยังเป็นผลงานที่มีจุดหักมุมทำนองนั้นอีก เซินเจียรุ่ยก็รู้สึกหวั่นใจอยู่บ้าง

แต่เมื่อเซินเจียรุ่ยอ่านไปเรื่อยๆ เขากลับเริ่มตระหนักได้ว่า…

เรื่องนี้ ไม่มีจุดหักมุม

ครั้งนี้ฉู่ขวงถึงกับเปลี่ยนสไตล์การเขียน ใช้การเขียนเชิงบรรยายอย่างเต็มที่เพื่อเขียนออกมาเป็นเรื่องสั้น

…………………………………………………..

[1] อกาธา คริสตี (Agatha Christie) นักเขียนนิยายอาชญากรรมชื่อดังชาวอังกฤษ ผลงานเด่น เช่น ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอ็กซ์เพรส (Murder on the Orient Express) ฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ (The Murder of Roger Ackroyd) เรื่องลึกลับที่สไตล์ส (The Mysterious Affair at Styles) เป็นต้น

[2] อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ (Arthur Conan Doyle) นักเขียนเรื่องสั้นและนวนิยาย และแพทย์ชาวสกอตแลนด์ ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือนิยายรหัสคดีชุดเชอร์ล็อก โฮมส์

[3] แอลเลอรี ควีน นามปากกาของนักเฟรเดอริก แดนเนย์ และแมนเฟรด เบนนิงตัน ลี นักเขียนนวนิยายแนวอาชญากรรมชาวอเมริกัน

[4] มัตสึโมโตะ เซย์โช นักเขียนนิยายสืบสวนชาวญี่ปุ่น

ประวัติการอ่าน

No history.

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นของผู้อ่านเกี่ยวกับนิยาย: Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน