Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน นิยาย บท 296

สรุปบท ตอนที่ 296 ยอดนักสืบปัวโรต์: Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน

สรุปตอน ตอนที่ 296 ยอดนักสืบปัวโรต์ – จากเรื่อง Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน โดย Internet

ตอน ตอนที่ 296 ยอดนักสืบปัวโรต์ ของนิยายการเงินเรื่องดัง Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน โดยนักเขียน Internet เต็มไปด้วยจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยปม ตัวละครตัดสินใจครั้งสำคัญ หรือฉากที่ชวนให้ลุ้นระทึก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้อ่านที่ติดตามเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง

ตอนที่ 296 ยอดนักสืบปัวโรต์

ถึงแม้ว่าเส้นทางในการปีนขึ้นสู่บัลลังก์แชมป์ของเรื่องบะหมี่หยางชุนหนึ่งชามนั้นจะคดเคี้ยว แต่หลินเยวียนก็ไม่ได้รู้สึกท้อใจแต่อย่างใด

เมื่อเทียบกับนิยายที่ตอนจบหักมุมเมื่อขึ้นเรื่องราวดำเนินไปถึงจุดไคลแม็กซ์อย่างเรื่องสร้อยคอ เรื่องสั้นชวนอบอุ่นหัวใจไม่สามารถสั่นสะเทือนวงการได้ในเวลาเพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียวจริงๆ

หากจะถามว่าอะไรที่ทำให้หลินเยวียนรู้สึกประหลาดใจ ก็เห็นจะเป็นตรงที่เขาไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าตนจะมีแอนตี้แฟนด้วย…

ที่ผ่านมา บนโลกออนไลน์มีคนแสดงความคิดเห็นเชิงเกลียดชังฉู่ขวงน้อยเหลือเกิน ปรากฏว่าครั้งนี้ผลงานชิ้นใหม่แค่ไม่ได้ขึ้นไปครองบัลลังก์แชมป์ในทันที ถึงกับมีคนไม่น้อยรีบกระโดดเข้ามารุมซ้ำเติม

หรือว่าระยะนี้ตนไปทำอะไรผิดไว้?

เมื่อหลินเยวียนเล่าเรื่องนี้ให้จินมู่ฟัง จินมู่ก็กล่าวกลั้วหัวเราะ

“ไม่ว่าจะเป็นคนที่สมบูรณ์แบบแค่ไหน ก็ยังมีคนไม่ชอบครับ จะมีคนบางจำพวกที่ชอบตั้งตัวเป็นศัตรูกับคนที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตนโดยไร้เหตุผล ตัวตนนักเขียนของหัวหน้ายังน้อยครับ ถ้าเกิดเป็นศิลปินละก็ หนักว่านี้เยอะเลยครับ คุณไม่ได้ทำอะไรผิดหรอก”

เอาเถอะ

หลินเยวียนไม่ได้มัวขบคิดเรื่องนี้มากนัก

จินมู่เปลี่ยนหัวข้อสนทนา “หนังเรื่องต่อไปของคุณมีไอเดียอะไรไหมครับ”

ในตอนนี้เรื่องนักปรับเสียงเปียโนได้ออกจากโรงแล้ว

ยอดบ็อกซ์ออฟฟิศสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ที่ประมาณพันล้านหยวน

แต่หลังจากผ่านการแบ่งสรรปันส่วนแล้ว รายได้สุทธิซึ่งเข้ากระเป๋าหลินเยวียนจริงๆ อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านหยวน

“ไว้ก่อนแล้วกันครับ”

เหล่าโจวก็เคยถามเรื่องนี้ หลินเยวียนยังไม่ได้ให้คำตอบที่แน่ชัดเช่นเดียวกัน เขาเตรียมจัดการทำผลงานชิ้นใหม่ของฉู่ขวงให้เสร็จเรียบร้อยก่อน นั่นก็คือเรื่อง ‘ฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์’

คดีนี้เกิดขึ้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

ในหมู่บ้านนี้มีสองตระกูลใหญ่

เจ้าของตระกูลใหญ่หนึ่งในนั้นก็คือโรเจอร์ เขาเป็นชายหม้าย

เจ้าของอีกตระกูลหนึ่งมีชื่อว่าเฟอร์ราส หลินเยวียนเลือกใช้ชื่อว่าเฟอร์

เธอเป็นแม่หม้ายผู้ร่ำรวย

เฟอร์กลายเป็นแม่หม้ายก็เพราะเธอวางยาพิษสามีของตนเอง

บางทีอาจเป็นเพราะเคยเผชิญกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ทำให้โรเจอร์และเฟอร์เกิดความรู้สึกต่อกัน

ปรากฏว่าเฟอร์ฆ่าตัวตายตั้งแต่เปิดเรื่อง

โรเจอร์รู้ เพราะมีคนค้นพบเรื่องที่เธอวางยาพิษสามีของเธอ ดังนั้นเฟอร์จึงประสบกับการแบล็กเมลโดยคนผู้นี้มาโดยตลอด นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เฟอร์ปลิดชีพตนเอง

โรเจอร์อยากรู้ว่าแท้จริงแล้วผู้ที่แบล็กเมลเธอคือใครกันแน่

และก่อนที่เฟอร์จะจากไป เธอได้ทิ้งจดหมายฉบับหนึ่งไว้ให้โรเจอร์

ทว่าโรเจอร์ยังไม่ทันได้อ่านจดหมายฉบับนั้นจบ ก็ต้องมาตายเสียก่อน เขานั่งอยู่ในห้องหนังสือ ถูกคนปาดมีดเข้าที่ลำคอ…

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นจากตรงนี้

การเปลี่ยนฉากหลังของเรื่องไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร

ชื่อของตัวละคร หลินเยวียนก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนจนมากเกินไป

เพราะบลูสตาร์นั้นกว้างใหญ่ จะชื่อนามสกุลอะไรก็มีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นไมค์ เดวิด หรืออลิซ ก็ล้วนเป็นชื่อที่มีอยู่บนบลูสตาร์ทั้งนั้น

โดยเฉพาะทางเยี่ยนโจว นามสกุลแบบนี้พบเห็นได้ทั่วไป

เพราะฉะนั้นหลินเยวียนจึงไม่ได้กังวลว่านามสกุลแบบตะวันตกนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน

เรื่องราวถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของหมอเชปเพิร์ด

เช่นเดียวกับหลายคดีในเรื่องเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ก็ถูกถ่ายทอดจากมุมมองของวัตสันเช่นกัน

เพราะเชปเพิร์ดเป็นหมอในท้องถิ่น รู้จักโรเจอร์ค่อนข้างดี กอปรกับประจักษ์พยานว่าเชปเพิร์ดไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ เขาจึงกลายเป็นผู้ช่วยของปัวโรต์ คอยช่วยปัวโรต์สืบคดีของโรเจอร์ และด้วยการดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของเขา ในที่สุดก็ได้เห็นปัวโรต์เปิดเผยความจริง

สิ่งที่ควรค่าแก่การเอ่ยถึงก็คือ ปัวโรต์เป็นตัวเอกของเรื่องฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์!

ปัวโรต์!

ชื่อเต็มคือแอร์กูเลอ ปัวโรต์

เมื่อมาอยู่ภายใต้นามปากกาของฉู่ขวง ย่อมเรียกเพียงปัวโรต์ ถึงอย่างไรก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับบลูสตาร์สักหน่อย

เชื่อว่าผู้ที่ชื่นชอบนวนิยายสืบสวนสอบสวนบนโลกต่างคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี เช่นเดียวกับที่ใครๆ ก็รู้จักชื่อของเชอร์ล็อก โฮล์มส์

เพราะนิยายส่วนมากของคุณย่าเป็นนิยายสืบสวนสอบสวน และตัวเอกก็คือปัวโรต์

ตอนที่ปัวโรต์ในหนังสือตาย หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ถึงขั้นลงข่าว จะเห็นได้ว่าอิทธิพลของตัวละครตัวนี้น่าสะพรึงกลัวมากเพียงใด!

เขาเป็นนักสืบฝีมือดีซึ่งสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับโฮล์มส์ได้เลย (ทั้งสองเป็นนักสืบซึ่งถูกสร้างขึ้นมา โดยนักเขียนนวนิยายสืบสวนสอบสวน)!

และเรื่องฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ ก็เป็นผลงานซึ่งทำให้ผู้อ่านเริ่มคุ้นเคยกับปัวโรต์

ปัวโรต์เคยเป็นตำรวจมาก่อน หลังจากนั้นก็ลาออกจากงานตำรวจ และผันตัวมาเป็นนักสืบเอกชน

ปรากฏว่า หลังจากไขคดีสำคัญมานับไม่ถ้วน ปัวโรต์ก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลก!

เขากลายเป็นแขกประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์ เขาเป็นยอดนักสืบในสายตาของสังคมชั้นสูง!

ภายหลังปัวโรต์เกษียณ เขามาถึงหมู่บ้านที่เรื่องฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์เกิดขึ้น ยังไม่ทันได้ปลูกฟักทอง ก็ได้รับคำเชิญให้ไปสืบคดีของโรเจอร์

และคดีนี้ก็ทำให้ปัวโรต์ตระหนักได้ว่า ตนยังคงรักการสืบคดีอยู่ ดังนั้นจึงกลับลงสนามอีกครั้ง

เช่นเดียวกับคดีฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอ็กซ์เพรส ก็ถูกคลี่คลายหลังจากที่ปัวโรต์กลับมาลงสนาม

นอกจากนั้น ฆาตกรรมบนลำน้ำไนล์ ปัวโรต์ก็เป็นคนไขคดีเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้เอง

แฟนนิยายแนวสืบสวนสอบสวนจำนวนมากบนโลก ล้วนชอบนำปัวโรต์กับโฮล์มส์มาเปรียบเทียบกัน และทั้งสองฝั่งก็ถกเถียงกันอย่างไม่ลดละว่าใครเก่งกว่ากัน

แน่นอนว่าทำเช่นนี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร

เพราะนั่นก็เท่ากับว่าหยิบยกผู้รังสรรค์ชีวิตให้ตัวละครทั้งสอง อย่างคุณย่าและอาเธอร์ โคนัน ดอยล์มาเปรียบเทียบกัน พวกเขาเป็นสองในสามปรมารจารย์นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนของโลก สถานะในวงการของพวกเขาไม่มีใครเป็นสองรองใคร

……

เรื่องนี้มีความหมายมากสำหรับหลินเยวียน

ไม่ช้าก็เร็ว เขาอาจโยกย้ายไปตีพิมพ์เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ทว่าแสงของปัวโรต์ก็ไม่ควรถูกบดบัง!

ถึงอย่างไรก็เป็นนักสืบเอกชนระดับโลกซึ่งโด่งดังพอๆ กับโฮล์มส์ ปราฏตัวในนิยายกว่าสามสิบเรื่องที่คุณย่าเขียน

หลินเยวียนถึงขั้นคิดว่า…

ถ้าหากปัวโรต์ไม่ใช่ชายแก่นิสัยพิลึกกึกกือ แต่เป็นชายหนุ่มซึ่งเชี่ยวชาญทั้งบุ๋นและบู๊อย่างโฮล์มส์ บางทีชื่อเสียงของเขาอาจโด่งดังกว่านี้?

แต่ลองมาคิดดูแล้ว หลินเยวียนก็รู้สึกว่า เป็นเพราะปัวโรต์แตกต่างกับโฮล์มส์อย่างสิ้นเชิงนี่แหละ ถึงทำให้เขาเป็นที่นิยมได้มากถึงขนาดนี้

ปัวโรต์ก็คือปัวโรต์ โฮล์มส์ก็คือโฮล์มส์ พวกเขาล้วนเป็นบุคคลที่ทุกคนรู้จัก และมีเพียงหนึ่งเดียว

ถึงอย่างไรขณะที่หลินเยวียนเขียนเรื่องฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ เมื่อเขียนบรรยายถึงปัวโรต์ ก็มักรู้สึกมีความสุขอยู่เสมอ

ในหนังสือ เชปเพิร์ดกล่าวว่า ‘ถ้าเกิดกำแพงพวกนี้พูดได้ก็ดีน่ะสิ’

คำตอบของปัวโรต์กลายเป็นวลีเด็ด

เขามองกำแพง พลางเอื้อมมือไปจับเครื่องเรือน “สำหรับผมแล้ว พวกมันทุกชิ้นล้วนพูดได้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้ หรือโต๊ะ ก็ล้วนทิ้งเบาะแสไว้ให้ผม”

ปัวโรต์ชอบเอ่ยบทอันสวยหรู

เงื่อนงำอันยุ่งเหยิงในสายตาคนอื่น เมื่อมาอยู่ในสายตาของปัวโรต์ ก็สามารถร้อยเรียงเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนได้เสมอ เช่นเดียวกับบุคลิกของเขาที่ใฝ่หาความเป็นระเบียบอย่างยิ่งยวด!

แน่นอน

ฉากซึ่งโด่งดังที่สุดของปัวโรต์เห็นจะเป็นตอนจบของเรื่องฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอ็กซ์เพรส แต่จะยังไม่ขอเอ่ยถึง

หลินเยวียนพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เสร็จอย่างรวดเร็ว

เมื่อเขียนมาถึงสองสามตอนสุดท้าย หลินเยวียนก็ยิ่งรู้สึกเพลิดเพลิน

นิยายเรื่องนี้ ไม่ใช่นิยายไขปริศนาตามขนบที่สุดของอกาธา คริสตี หากแต่เป็นรูปแบบการสร้างสรรค์นวนิยายสืบสวนสอบสวนที่ไม่เหมือนใคร

คุณย่าได้รับการยอมรับจากวงการวรรณกรรมสืบสวนสอบสวนว่าเป็นผู้บุกเบิกที่แข็งแกร่งที่สุด!

เพราะฉะนั้น นี่ก็ยังคงเป็นมุกเดิมที่ระบบชอบเล่น คิดค้นอะไรใหม่ๆ เล่นอะไรที่แตกต่าง!

หลินเยวียนเชื่อว่า เมื่อผู้อ่านอ่านถึงตอนจบ จะต้องตกตะลึงจนอ้าปากค้างอย่างแน่นอน

ถึงอย่างไรปัวโรต์ก็สร้างชื่อจากเรื่องฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ นิยายสืบสวนของคุณย่าเริ่มได้รับการยกย่องจากโลกภายนอกก็จากเรื่องนี้

“จริงสิ…”

เมื่อหลินเยวียนเขียนเนื้อเรื่องของตนในวันนี้เสร็จ จู่ๆ ก็ฉุกคิดได้ว่าตนยังมีภารกิจดันให้ซุนเย่าหั่วและเจียงขุยเป็นนักร้องแถวหน้า

อย่างไรซะ ระยะเวลาหนึ่งปีนั้นก็แสนน้อยนิด

แถมตอนนี้ก็ย่างเข้าเดือนมีนาคมแล้ว

บางทีหลังจากเขียนฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์เสร็จแล้ว เขาจะต้องลงแรงดันทั้งสองคนนี้ให้มากสักหน่อย นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาทั้งสามตัวตนควบคู่กันไป

………………………………………..

ประวัติการอ่าน

No history.

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นของผู้อ่านเกี่ยวกับนิยาย: Full-time Artist ใครว่าผมไม่เหมาะเป็นศิลปิน