ตำนานศิษย์พี่เจ้าปฐพี นิยาย บท 1500

กรงเล็บ​ยักษ์​ขน​สีทอง​พอ​คว้า​ใส่ ราชา​บันดาลใจ​ส่งเสียง​โหยหวน​ สอง​ตา​เบิกโพลง​ เลือด​ไหล​ทั่ว​ร่าง​

มาตรว่า​จะเป็น​เซียน​สวรรค์​ชั้น​มหา​ชาล​ที่​มาจาก​โถงเซียน​ หนำซ้ำ​ยังมี​สามบุปผา​บน​กระหม่อม​ ห้า​ปราณ​มุ่งสู่ต้นกำเนิด​ ทว่า​พร้อมกับ​ที่​กรงเล็บ​ทั้ง​ห้า​ที่​น่ากลัว​นั้น​หุบ​เข้าหา​กัน​ ทั่ว​ร่าง​ของ​ราชา​บันดาลใจ​ก็​ส่งเสียง​กร๊อบ​ๆ ที่​ต่อเนื่อง​ไม่ขาด​หู​ออกมา​

ขณะที่​ราชา​บันดาลใจ​โหย​หยวน​ ก็​รีบ​ดิ้นรน​ด้วย​พลัง​ทั้งหมด​

พร้อมกับ​ที่​ตน​เสี่ยงชีวิต​ ก็​ผลักดัน​ให้​แสงหยก​หลาย​สาย​บน​โถงเซียน​มช่วยเหลือ​

ทว่า​ขน​เล็ก​ๆ สีทอง​บน​ฝ่ามือ​อัน​น่ากลัว​นั้น​ตั้งขึ้น​ เหมือนกับ​เสาสีทอง​หลาย​ต้น​ เรืองแสง​สีทอง​ ขัดขวาง​แสงหยก​ไว้​

ทันใดนั้น​เอง​ กรงเล็บ​นี้​เหมือนกับ​ขยาย​ขึ้น​อีก​เท่าตัว​

กรงเล็บ​ยักษ์​ออกแรง​บีบ​ ราชา​บันดาลใจ​แผดเสียง​ ถูกจับ​ไว้​จน​คืน​ร่าง​เดิม​ เปลี่ยน​กลับเป็น​ปลาทอง​ยักษ์​ตัว​หนึ่ง​!

เขา​บำเพ็ญ​ทั้ง​เต๋า​ทั้ง​พุทธ​ บรรลุ​มรรคผล​ ถอน​ทำลาย​กาย​ปีศาจ​ไป​แต่แรก​ ไม่อาจ​ถูก​คน​ทุบตี​จน​กลับ​สภาพ​น่าอนาถ​อย่าง​เดิม​

ทว่า​วานร​ยักษ์​น่ากลัว​ที่​ตอนนี้​จับ​เขา​ไว้​กลับ​พลิก​เอกภพ​ บิด​เปลี่ยน​กฎเกณฑ์​ ทำลาย​วิชา​ฝีมือ​ทั้งหมด​ของ​ราชา​บันดาลใจ​ไป​

ใน​แสงสีทอง​ยิ่งใหญ่​ วานร​ยักษ์​ตัว​หนึ่ง​สวมมงกุฎ​ทอง​ปีก​หงส์​ ใส่เสื้อเกราะ​ทอง​ สวม​รองเท้า​ใย​บัว​ โผล่​ร่าง​ออก​มาจาก​แสงสว่าง​

มอง​ไป​คล้าย​ไม่สูงใหญ่​เท่าใด​ แต่กลับ​เหมือน​ศีรษะ​ค้ำฟ้า​ เท้า​เหยียบ​ปรโลก​ ต้องการ​ดัน​ทำลาย​โลก​ใบ​นี้​

ดวงตา​สอง​ดวง​เหมือนกับ​ดวงอาทิตย์​ที่​สว่างไสว​สอง​ดวง​

กลิ่นอาย​บ้าคลั่ง​ที่​ไร้​กฎ​ไร้​เกณฑ์​ โอหัง​ไม่ยอมสยบ​แผ่​พุ่ง​ออกมา​ ครอบคลุม​ทั่ว​ทั้ง​โถงเซียน​!

เงาร่าง​ที่​เคย​อาละวาด​บน​วัง​เทพ​ระหว่าง​ยุค​โบราณ​ตอนกลาง​ บัดนี้​ปรากฏ​ขึ้น​อีกครั้ง​ ตำนาน​ที่อยู่​ใน​ฝุ่นผง​ทาง​ประวัติศาสตร์​ ปรากฏ​ตรงหน้า​ผู้คน​อย่าง​เจิดจ้า​อีก​หน​!

พร้อมกับ​ที่​เงาร่าง​สาย​หนึ่ง​เดิน​ออก​มาจาก​ใน​แสงสว่าง​ เขา​ก็​ออกแรง​ที่​ฝ่ามือ​ ปลาทอง​ที่​ถูกจับ​ไว้​พลัน​เปลี่ยนเป็น​เลือดเนื้อ​แหลกเหลว​กอง​หนึ่ง​หนึ่ง​!

ราชา​บันดาลใจ​ถูก​วานร​ยักษ์​ที่​น่ากลัว​ตัว​นี้​บีบ​ตาย​ด้วยมือ​ข้างเดียว​!

เทว​กษัตริย์​โถงเซียน​ผู้​หนึ่ง​ตก​ตาย​ใน​พริบตา​!

กลิ่น​คาวเลือด​ม้วน​ไป​ทั่ว​สี่ทิศ​ แผ่​ไป​ทั่ว​สวรรค์​

วานร​ยักษ์​เงยหน้า​ถลึงตา​มอง​ยุทธ​วิชัย​พุทธะ​กับ​บุญ​กุศล​พุทธะ​ ดวงตา​สีแดงฉาน​มีปราณ​พิฆาต​พวยพุ่ง​ ก่อน​จะสืบเท้า​ออก​ก้าว​หนึ่ง​ ยก​สอง​กรงเล็บ​ขึ้น​แล้ว​คว้า​ใส่พระพุทธเจ้า​สอง​องค์​พร้อมกัน​

“ตถาคต​เมตตากรุณา​ ประสก​อย่า​ฆ่าสัตว์​ตัด​ชีวิต​” บุญ​กุศล​พุทธะ​ถอนใจ​คำ​หนึ่ง​

ดอกบัว​หลาย​ดอก​กลายเป็น​ทะเล​ดอก​ ขวาง​ระหว่าง​ท่าน​กับ​วานร​ยักษ์​ บัว​เขียว​กระจัดกระจาย​ บดขยี้​มิติ​เวลา​ บิดเบี้ยว​โลก​ ปรากฏ​พุทธ​เกษตร​แห่ง​หนึ่ง​

บุญ​กุศล​พุทธะ​ย้าย​แดน​สุขาวดี​ของ​ตัวเอง​มายัง​ที่นี่​ ประสาน​กับ​ความ​น่าอัศจรรย์​ของ​วาจา​ไพเราะ​ดุจ​ดอกบัว​ สร้าง​ฟ้าดิน​ที่​ท่น​เป็น​ผู้​กำหนดกฎเกณฑ์​แห่ง​หนึ่ง​

นอกจาก​ข้อยกเว้น​จำนวน​น้อย​นิด​ ต่อให้​ยอด​ฝีมือ​ระดับ​มหา​ชาล​คนอื่นๆ​ เข้ามา​ใน​โลก​ใบ​นี้​ก็​ไม่อาจ​กระโดด​ออก​ไป​ได้​ ต่าง​ต้อง​ขยับ​ตาม​กฎเกณฑ์​ที่​บุญ​กุศล​พุทธะ​ได้​กำหนด​

ทว่า​คู่ต่อสู้​ตรงหน้า​ท่าน​ใน​ปัจจุบัน​ เป็นหนึ่ง​ใน​ข้อยกเว้น​จำนวน​น้อย​นั้น​!

วานร​ยักษ์​ที่เกิด​จาก​การ​แปลงร่าง​ของ​เยี่ยน​จ้าว​เก​อ​อ้า​ปาก​ ร้อง​ตะโกน​จน​สะเทือน​แก้วหู​ “ท่าน​บอก​ไม่ฆ่าก็​ต้อง​ไม่ฆ่าหรือ​”

วานร​กระโจน​ร่าง​ขึ้น​ สอง​มือ​ดุจ​กรงเล็บ​ คว้า​ไป​ด้านใน​ ไม่มีสิ่งใด​ขวาง​ได้​!

แดน​สุขาวดี​ที่​ลี้ลับ​ไม่อาจ​หยั่ง​คาด​ของ​บุญ​กุศล​พุทธะ​ถึงกับ​ถูก​กรงเล็บ​ของ​วานร​ตน​นี้​จับ​ไว้​ จากนั้น​ก็​ถูก​ฉีก​ออก​!

เขา​ใน​ตอนนี้​ไม่เหมือนกับ​ตอน​อยู่​ใน​จุดสูงสุด​ของ​ระดับ​เซียน​กำเนิด​เมื่อ​ครู่​ แต่ว่า​เป็น​ตัวตน​ที่​ขึ้น​สู่สวรรค์​มหา​ชาล​เหมือนกัน​!

ต่อให้​สู้ตอนที่​มหา​เท​วะ​เสมอ​ฟ้าอยู่​บน​จุดสูงสุด​ไม่ได้​ กลับ​สำเร็จ​ระดับ​มหา​ชาล​ เป็นหนึ่ง​ใน​ตัวตน​ระดับ​สุดยอด​ท่ามกลาง​เซียน​สวรรค์​ชั้น​มหา​ชาล​

ใน​เสียงหัวเราะ​ดุร้าย​ วานร​ยักษ์​ออกแรง​ที่สอง​กรงเล็บ​

บุญ​กุศล​พุทธะ​ไม่อาจ​เทียบ​กับ​เซียน​สวรรค์​เส้นทาง​นอกรีต​อย่าง​ราชา​บันดาลใจ​ คือ​ตัวตน​ที่​สำเร็จ​มรรคา​ผล​เป็น​พระพุทธเจ้า​อย่าง​แท้จริง​ พลัง​ท่ามกลาง​หมู่​พระพุทธเจ้า​แห่ง​แดน​ตะวันตก​ไม่อาจ​ดูแคลน​

ทว่า​ขณะนี้​ วานร​แยก​สอง​กรงเล็บ​จาก​ตรงกลาง​ไป​ด้าน​ข้าง​ ฉีก​แดน​สุขาวดี​ของ​บุญ​กุศล​พุทธะ​!

โอษฐ์​พ่น​ดอกบัว​ วาจา​เปล่ง​กฎเกณฑ์​ติดตาม​ ตอนนี้​มีเพียง​ความเสื่อมทราม​

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นของผู้อ่านเกี่ยวกับนิยาย: ตำนานศิษย์พี่เจ้าปฐพี